โรคหัวใจรูห์มาติค

โรคหัวใจรูห์มาติค เป็นโรคหัวใจที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย สาเหตุเกิดจากไข้รูห์มาติคในวัยเด็ก (ประมาณอายุ 6-15 ปี)

โรคหัวใจรูห์มาติค เป็นโรคหัวใจที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย สาเหตุเกิดจากไข้รูห์มาติคในวัยเด็ก (ประมาณอายุ 6-15 ปี)

        สาเหตุของไข้รูห์มาติคยังไม่ทราบแน่นอน แต่มีความเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในคอโดยเชื้อสเตรปโตคอคคัสชนิดหนึ่ง และเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของผู้ป่วยเช่นผู้ที่มีฐานะยากจน ขาดอาหาร ที่อยู่อาศัยแออัด จะพบว่าเป็นโรคนี้มาก

        อาการของไข้รูห์มาติค มีไข้ ปวดบวมตามข้อ มีปุ่มใต้ผิวหนัง ผิวหนังเป็นผื่นแดง กล้ามเนื้อกระตุกไม่มีแรง และมีหัวใจอักเสบ คือ บวม เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก หอบ เป็นต้น

        ที่สำคัญก็คือประมาณครึ่งหนึ่งของไข้รูห์มาติค จะมีหัวใจอักเสบร่วมด้วย และอาจจะกลายเป็นโรคหัวใจเรื้อรังไปได้ แต่การอักเสบที่อวัยวะอื่น ๆ จะหายเป็นปกติได้เอง

        เมื่อมีการอักเสบของหัวใจจากไข้รูห์มาติค อาจทำให้หัวใจวายและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หลังจากพ้นระยะอักเสบอาจกลายเป็นโรคหัวใจรูห์มาติคเรื้อรังได้ คือ กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมสมรรถภาพ ลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ ถ้ามีความพิการที่ลิ้นหัวใจมาก อาจต้องผ่าตัดแก้ความพิการ หรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจใหม่ โดยใช้ลิ้นเทียมหรือจากหัวใจผู้อื่น

การป้องกันและรักษา

1.ควรให้เด็ก ๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ได้แก่ อาหาร โปรตีน และผักผลไม้ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงต่อต้านเชื้อโรคได้ ไม่ควรอยู่ในที่แออัด เพราะจะมีโอกาสแพร่และรับเชื้อโรคสเตรปโตคอคคัสได้โดยง่าย

2.เด็กที่มีอาการเจ็บคอ ปวดข้อ หอบเหนื่อย บวม ฯลฯ ควรรีบไปหาแพทย์โดยเร็ว

3.ผู้ที่เป็นไข้รูป์มาติคแล้ว จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ รับยาฉีดหรือกินเป็นประจำ เพื่อป้องกันการกลับของไข้ไปจนตลอดชีวิต

สมาคมโรคหลอดเลือดแดงแห่งประเทศไทย Thai Atherosclerosis Society

สมาคมโรคหลอดเลือดแดงแห่งประเทศไทย Thai Atherosclerosis Society

อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี ชั้น 5 โซนบี 2 ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ห้วยขวาง บางกะปิ กรุงเทพฯ 10320

0-2716-6043, 087-830-9306 0-2716-6044