อาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือดเป็นความรู้สึกบีบรัดและแน่นอึดอัดที่บริเวณหน้าอก หรือส่วนบนของร่างกาย มักพบในคนวัยกลางคนและผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มักจะมีอาการเมื่อออกกำลังกายและรู้สึกทุเลาเมื่อได้พัก อย่างไรก็ตามในบางคนอาจพบอาการเจ็บหน้าอกเกิดขึ้นเองในขณะพัก อาการเจ็บหน้าอกสามารถรักษาได้หลายวิธีตามคำแนะนำจากแพทย์
การรักษา
เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก เนื่องมาจากความผิดปรกติของหลอดเลือดหัวใจ แพทย์อาจใช้วิธีทดสอบบางอย่างเพื่อหาสาเหตุและวิธีแก้ไข เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) ตรวจวัดความดันโลหิต และตรวจวัดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด ผู้ป่วยอาจต้องไปพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อการวินิจฉัยแบบอื่นร่วมด้วย เช่น การเดินบนสายพาน หรือฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ เมื่อผลการวินิจฉัยเสร็จสมบูรณ์ ผู้ป่วยอาจจะได้รับคำแนะนำให้ เปลี่ยนแปลงการดำเนินกิจวัตรบางอย่าง เช่น
- ถ้าสูบบุหรี่ ควรเลิกสูบโดยเด็ดขาด
- ลดปริมาณไขมันในอาหาร และพยายามควบคุมน้ำหนักตัว
- พยายามควบคุมอารมณ์ให้สงบเมื่ออยู่ในภาวะที่ต้องเผชิญความเครียด
รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ ซึ่งได้แก่
- พก Spray หรือยาอมใต้ลิ้น เพื่อใช้ทันทีเมื่อเกิดอาการ
- รับประทานยาทุกวัน เพื่อป้องกันการเกิดอาการ
- รับประทานยา เพื่อควบคุมความดันโลหิต
- ในกรณีที่เป็นเบาหวาน ควรควบคุมระดับน้ำตาลให้ปรกติ
งดบุหรี่
การสูบบุหรี่จะลดปริมาณออกซิเจนที่มีอยู่ในกระแสเลือด และทำให้หลอดเลือดตีบลง สิ่งเหล่านี้จะทำให้อาการเจ็บหน้าอกเลวลง ดังนั้นการสูบบุหรี่จึงถือเป็นตัวการสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดปัญหาโรคหัวใจ อัตราการเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากหัวใจวายในคนที่สูบบุหรี่นั้นมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่อย่างน้อย 2 เท่า การงดลูบบุหรี่จะลดความเสี่ยงของโรคหัวใจตั้งแต่ปีแรก และภายใน 3-5 ปี อัตราเสี่ยงนี้จะลดลงมาราวกับไม่เคยสูบบุหรี่เลย
จะงดบุหรี่ได้อย่างไร
ระลึกไว้เสมอว่าคุณต้องทำได้ ปีหนึ่ง ๆ มีคนงดสูบบุหรี่นับล้านคน มีหลายวิธีที่คนส่วนใหญ่พบว่าอาจมีประโยชน์ เช่น การตั้งจุดมุ่งหมาย ระบุวันที่จะงดสูบบุหรี่อย่างเด่นชัด บอกเพื่อนฝูงและญาติสนิทเพื่อจะได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือ บางคนใช้การทดแทนนิโคตินจากแผ่นแปะผิวหนังหรือหมากฝรั่งช่วย ซึ่งจะสามารถลดอาการข้างเคียงจากการงดสูบบุหรี่ คุณเท่านั้นที่จะสามารถตัดสินใจว่าควรจะเลือกวิธีไหน แพทย์และเภสัชกรสามารถให้คำปรึกษากับคุณได้
ลดความเครียด
ในชีวิตประจำวันมักจะมีความเครียดอยู่เสมอ ดังนั้นการเรียนรู้และพยายามระงับอารมณ์อยู่ในความสงบ เมื่อต้องเผชิญภาวะเครียดจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ และลดการเกิดอาการเจ็บหน้าอก เพราะเมื่อคุณโกรธหรือเครียด หัวใจคุณจะเต้นเร็วขึ้นและทำงานหนักขึ้น ซึ่งจะทำให้คุณมีอาการเจ็บหน้าอกขึ้นได้
ปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้
1. พยายามจำไว้เสมอว่า ความเครียดจะส่งผลไม่ดีต่อหัวใจ
2. ศึกษาวิธีผ่อนคลาย เช่น หายใจลึก ๆ สอบถามคำแนะนำเพิ่มเติมจากแพทย์หรือเภสัชกร
3. ถ้าพบว่ากำลังเผชิญอยู่กับภาวะเครียด พยายามทำให้จิตใจสงบและพยายามคิดถึงสิ่งต่าง ๆ ในแง่ดี
4. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อาจช่วยลดความเครียดได้
ควบคุมน้ำหนักและอาหาร
น้ำหนักส่วนเกินจะทำให้หัวใจของคุณทำงานหนักขึ้น หัวใจจะเต้นเร็วขึ้นและจะทำให้คุณมีอาการเจ็บหน้าอกขึ้นได้ ถ้าคุณอ้วนเกินไปคุณควรลดน้ำหนักโดยเปลี่ยนแปลงรายการอาหาร รับประทานอาหารน้อยลง หลีกเลี่ยงอาหารที่ให้พลังงานสูง ร่วมกับออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ลดอาหารประเภท
ไขมันจากสัตว์ หากคุณต้องการลดน้ำหนัก จงจำไว้ว่าการลดอาหารอย่างรวดเร็วไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องในการลดน้ำหนัก คุณควรจะลดน้ำหนักอย่างช้า ๆ และต่อเนื่อง ซึ่งวิธีนี้จะทำให้คุณสามารถลดน้ำหนักได้ดีกว่า
น้ำตาล ลดปริมาณขนมหวาน ไอศกรีม เค้ก และน้ำอัดลม
แอลกอฮอล์ แม้จะเป็นที่เชื่อกันว่าไวน์แดงปริมาณน้อย ๆ จะเป็นผลดีต่อหัวใจ แต่อย่าลืมว่าเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะให้พลังงานสูง ซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และไม่เป็นผลดีต่อหัวใจ
อาหารต่อไปนี้จะช่วยให้ร่างกายสมดุลมากขึ้น
ผู้ป่วยอาจจะปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อให้จัดรายการอาหารที่เหมาะสม
ข้อควรปฏิบัติในการรับประทานยา
วัตถุประสงค์ในการรับประทานยา
แพทย์อาจแนะนำให้คุณพกยาอมใต้ลิ้นหรือสเปรย์ เพื่อใช้ในเวลาที่คุณมีอาการเจ็บหน้าอก ยานี้ประกอบด้วย GTN (Glyceryltrinitrate) ซึ่งจะช่วยลดการทำงานของหัวใจ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด บางครั้งแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยานี้ก่อน ที่จะปฏิบัติภารกิจบางอย่างที่มักพบว่าทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก
ผู้ป่วยควรจะพกยานี้ติดตัวตลอดเวลาเผื่อฉุกเฉิน และเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
ถ้าสเปรย์หรือยาอมใต้ลิ้นไม่สามารถบรรเทาอาการ คุณควรจะใช้ยาอมใต้ลิ้นเม็ดที่สองหรือสเปรย์ซ้ำ ถ้าอาการยังไม่ทุเลา คุณควรจะนั่งลงและไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
นอกเหนือจากยาอมใต้ลิ้นและสเปรย์แล้ว แพทย์อาจให้ผู้ป่วยรับประทานยาเพื่อช่วยลดจำนวนครั้งของการเจ็บหน้าอก ซึ่งยาที่ใช้นี้มีหลายกลุ่มที่แพทย์สามารถเลือกใช้ ขึ้นกับความดันโลหิตของผู้ป่วย ระดับไขมันในเลือด รวมทั้งความรุนแรงของอาการเจ็บหน้าอก แพทย์จะพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ก่อนที่จะตัดสินใจว่าผู้ป่วยควรจะใช้ยาชนิดใด ดังนั้นจึงควรปฏิบัติตามตารางและคำแนะนำเหล่านั้นอย่างเคร่งครัด
เนื่องจากยาแต่ละชนิดนั้นแตกต่างกัน จึงต้องรับประทานในเวลาที่ต่างกัน ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรมีตารางการรับประทานยาและแบบแผนการปฏิบัติตัวเป็นของตนเองโดยเฉพาะ ถ้าต้องการให้การรักษามีประสิทธิภาพ ผู้ป่วย
สมาคมโรคหลอดเลือดแดงแห่งประเทศไทย Thai Atherosclerosis Society
อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี ชั้น 5 โซนบี 2 ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ห้วยขวาง บางกะปิ กรุงเทพฯ 10320
0-2716-6043, 087-830-9306 0-2716-6044