ระเบียบข้อบังคับ สมาคมฯ

ตราสมาคมฯ เป็นรูปวงกลม 2 วงซ้อนกัน วงในพื้นสีน้ำเงิน ตรงกลางมีรูปคนเต็มตัว มีหมายเลข 2540 ด้านซ้าย หมายเลข 1997 อยู่ด้านขวา ระหว่างวงกลมในและนอกมีอักษร Thai Atheroclerosis Society อยู่โค้งด้านบน และสมาคมโรคหลอดเลือดแดงแห่งประทเศไทยอยู่โค้งด้านล่างตัวอักษรเป็นสีแดง บนพื้นสีฟ้า

 

ระเบียบข้อบังคับ สมาคมโรคหลอดเลือดแดงแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2542)


1.ชื่อตราและที่ตั้งสำนักงาน
1.1 สมาคมนี้ชื่อ สมาคมโรคหลอดเลือดแดงแห่งประเทศไทย ชื่อภาษาอังกฤษ Thai Atherosclerosis Society (ตัวย่อ TAS)
1.2 ตราสมาคมฯ เป็นรูปวงกลม 2 วงซ้อนกัน วงในพื้นสีน้ำเงิน ตรงกลางมีรูปคนเต็มตัว มีหมายเลข 2540 ด้านซ้าย หมายเลข 1997 อยู่ด้านขวา ระหว่างวงกลมในและนอกมีอักษร Thai Atheroclerosis Society อยู่โค้งด้านบน และสมาคมโรคหลอดเลือดแดงแห่งประทเศไทยอยู่โค้งด้านล่างตัวอักษรเป็นสีแดง บนพื้นสีฟ้า
1.3 สำนักงานของสมาคมฯ ตั้งอยู่ที่ สำนักงานอาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ชั้นเลขที่ 2 ซ.ศูนย์วิจัย ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320 เนื้อที่ 195 ตารางเมตร
 
2. วัตถุประสงค์
สมาคมนี้ไม่เกี่ยวกับการเมือง มีวัตถุประสงค์ต่อไปนี้
2.1 เพื่อใช้เป็นศูนย์รวมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดให้เป็นศูนย์รวม
2.2 ส่งเสริมแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือด
2.3 สนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับโรคหลอดเลือด
2.4 ส่งเสริมสามัคคีระหว่างสมาชิก
2.5 จัดการประชุมให้ความรู้ด้านวิชาการแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดแดงในระดับชาติและนานาชาติ
2.6 เผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนในด้านการป้องากันและรักษาโรคหลอดเลือด
2.7ร่วมมือและประสานกับสถาบันวิชาการและการกุศลอื่นๆทั้งในและต่างประเทศ
 
3. ประเภท คุณสมบัติ และจำนวนสมาชิก
ประเภทสมาชิก มี 3 ประเภทคือ
3.1 สามัญ
3.2 กิตติมศักดิ์
3.3 สมทบ
คุณสมบัติของสมาชิก
3.1 สมาชิกสามัญ
 
3.1.1 เป็นแพทย์ (แพทยศาสตร์บัณฑิต) หรือผู้มีวุฒิระดับปริญญาโทหรือเอก ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือด มีความสนใจและมีประสบการณ์เกี่ยวกับโรคหลอดเลือด มีความคิดเห็นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์แห่งสมาคม
3.1.2 ต้องเป็นบุคคลที่ไม่เคยต้องโทษจำคุก โดยคำพิพากษา เว้นแต่ความผิดฐานประมาท หรือมีประวัติความประพฤติที่เป็นการเสื่อมเสียแก่สังคม อย่างร้ายแรง
 
3.2 สมาชิกกิตติมศักดิ์
ได้แก่บุคคลที่คณะกรรมการของสมาคมฯ ได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้เชิญเข้ามาเป็นสมาชิก
3.3 สมาชิกสมทบ
ได้แก่บุคคลอื่นที่สนใจในวิชาโรคหลอดเลือด และคณะกรรมการสมาคมรับรองวาระการเป็นสมาชิกสมทบครั้งละไม่เกิน 5 ปี
จำนวนสมาชิกไม่จำกัดจำนวนสมาชิก
 
 
4. การสมัครเข้าเป็นสมาชิก
ผู้สมัครต้องยื่นใบสมัครตามแบบของสมาคมฯ ต่อเลขาธิการ โดยมีสมาชิกสามัญเป็นผู้นำเสนอ 1 คน และผู้รับรองต่อ 1 คน พร้อมรูปถ่าย 1 นิ้ว หนึ่งรูปและคนสมัครเป็นสมาชิกตามระเบียบของสมาคม
 
5.สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
5.1 สิทธิและหน้าที่สมาชิกจะเริ่มภายหลังจากที่ได้รับการลงทะเบียนเข้าเป็นสมาชิกและได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการสมาคมฯ แล้วเท่านั้นการลงทะเบียนจะทำได้ก็ต่อเมื่อผู้ที่ได้รับเลือกเป็นสมาชิกได้ชำระเงินค่าสมาชิกเรียบร้อยแล้ว
5.2 เงินบำรุงสำหรับการเป็นสมาชิก มีอัตราดังนี้ สมาชิกสามัญตลอดชีพ 3,000 บาท สมาชิกสมทบ 1,000 บาท ต่อ 5 ปี เงินที่ได้ชำระแล้วไม่อาจเรียกคืนได้ การชำระเงินค่าบำรุงต้องชำระล่วงหน้าเป็นรายปี สมาชิกกิตติมศักดิ์ไม่ต้องชำระค่าบำรุง
5.3 สำหรับผู้ที่ไม่ชำระเงินค่าบำรุงภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ คณะกรรมการสมาคมอาจให้หมดสิทธิ์และหน้าที่ของการเป็นสมาชิกได้
5.4 สมาชิกสามัญที่ได้รับเลือกอยู่ในคณะกรรมการสมาคม โดยมีสิทธิ์ออกเสียงได้คนละ 1 คะแนน และมีสิทธิ์ที่จะสอบถามหรือขอตรวจดูเอกสารทะเบียนสมาชิก บัญชีและทรัพย์สินของสมาคมฯ ณ การประชุมใหญ่ นอกจากนี้แล้วยังมีสิทธิ์ที่จะเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการ และออกเสียงได้คนละ 1 คะแนน ในที่ประชุมใหญ่ของสมาคมฯ
5.5 สมาชิกมีหน้าที่จรรโลงสนับสนุน ส่งเสริมการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ และการดำเนินงานของคณะกรรมการที่สามาชิกได้เลือกแล้ว
5.6 สมาชิกมีสิทธิ์ที่จะได้รับประโยชน์จากสมาคมดังนี้คือ
 
5.6.1 รับรายงานข่าวสารจากสมาคมฯ โดยไม่ต้องเสียเงิน
5.6.2 ร่วมประชุมทางวิชาการโดยมิต้องชำระค่าธรรมเนียม เว้นแต่ที่จะกำหนดเป็นกรณีพิเศษ
5.6.3 ใช้บริการต่างๆ ของสมาคมฯ
 
 
 
 6. การขาดจากสมาชิกภาพ
6.1 สมาชิกภาพสินสุดลงอย่างอัตโนมัติด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้
 
6.1.1 ตาย
6.1.2 ลาออก
6.1.3. ต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดของศาล เว้นความผิดฐานประมาทและคณะกรรมากรบริหารสมาคมฯ เห็นสมควร
6.1.4 ที่ประชุมกรรมการใหญ่ลงมติให้ออกโดยคะแนนเสียง 3 ใน 4 ของสมาชิกเข้าร่วมประชุม
 
6.2 การลาออกให้แสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษร ยื่นต่อเลขาธิการแต่ต้องชำระหนี้ที่มีต่อสมาคมฯ ให้เสร็จสิ้นก่อน และการออกจากสมาชิกภาพในกรณีนี้จะสมบูรณ์ต่อเมื่อคณะกรรมการอนุมัติแล้ว
 
 
7. คณะกรรมการสมาคมฯ
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ" มีหน้าที่บริหารกิจการของสมาคมฯ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ประกอบด้วยบุคคล 18 คนคือ
1. นายก
2. อุปนายก
3. เลขาธิการ
4. เหรัญญิก
5. ปฏิคม
6. ประธานวิชาการ
7. ฝ่ายประชาสัมพันธ์
8. นายทะเบียน
9.-18 กรรมการกลาง
 
8. การเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ
8.1 การเลือกให้กระทำโดยลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่ประจำปี
8.2 ให้มีการเลือกคณะกรรมการทุก 2 ปี จากสมาชิกสามัญ คณะกรรมการสมาคมฯ ที่ได้รับเลือกจะประชุมกันเพื่อเลือกนายกและกรรมการตำแหน่งอื่นๆ
8.3 ให้บุคคลในคณะกรรมการสมาคมฯ ดำรงอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้ ถ้าได้รับเลือกซ้ำ ยกเว้นตำแหน่งนายกซึ่งจะดำรงตำแหน่งเกิน 2 วาระติดต่อกันไม่ได้
8.4 ถ้าตำแหน่ง นายก อุปนายก หรือกรรมการอื่นๆ ในคณะกรรมการสมาคมฯ ว่างลงเพราะเหตุอื่นทีไม่ใช่หมดวาระ ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการอื่นเข้าแทน ผู้ที่เข้าแทนจะอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระของผู้ที่ตนแทนเท่านั้น
 
9. หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการสมาคมฯ
9.1บริหารกิจกรรมของสมาคมฯให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้โดยมีสิทธิ์และอำนาจที่จะ
 
9.1.1 ตราระเบียบขึ้นใช้โดยไม่ขัดแย้งต่อกฎหมายข้อบังคับ 2 ของสมาคมฯ
9.1.2 ตั้งหรือถอดที่ปรึกษา
9.1.3 ตั้งหรือถอดคณะอนุกรรมการที่ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานเรื่องต่างๆ ตามแต่จะเห็นสมควร
9.1.4ตั้งบรรจุหรือถอดเจ้าหน้าที่ของสมาคมฯ
 
9.2 นายกสมาคมฯ มีหน้าที่เป็นหัวหน้ารับผิดชอบ ในการบริหารกิจการของสมาคมฯ
9.3 อุปนายกมีหน้าที่ทำแทนนายกเมื่อนายกไม่อยู่หรือทำหน้าที่ที่นายกมอบหมายให้
9.4 เหรัญญิก มีหน้าที่รับจ่ายและรักษาเงินของสมาคมฯ ทำงบประมาณประจำปี และเสนอรายงานการเงินของสมาคมฯ ต่อที่ประชุมใหญ่ประจำปี
9.5 เลขาธิการ มีหน้าที่ในการติดต่อและรักษาระเบียบทั่วไป เรียกประชุมคณะกรรมการบริหาร และการประชุมใหญ่ จัดให้มีการจดรายงานการปนะชุมและตรวจดูความเรียบร้อยเพื่อเสนอต่อที่ประชุมในการประชุมคราวต่อไป ควบคุมดูแลเจ้าหน้าที่สมาคมฯ
9.6 ปฏิคม มีหน้าที่ต้อนรับ จัดเตรียมและดูแลสถานที่จัดประชุม จัดกิจกรรมต่างๆ ระหว่างการประชุม
9.7 ประธานฝ่ายวิชาการ มีหน้าที่จัดการประชุมวิชาการ เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการแก่แพทย์และบุคลากรอื่นที่สนใจ รวมทั้งให้ข่าวด้านวิชาการ
9.8 ฝ่ายประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่เผยแพร่ข่าวสารและกิจกรรมของสมาคมฯ ให้แก่สมาชิกและผู้สนใจ
9.9 นายทะเบียน มีหน้าที่จัดทำทะเบียนสมาชิกทุกประเภท ให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับสมาชิกเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ และให้เสนอจำนวนสมาชิกประเภทต่างๆ ที่เข้าออกและ คงเหลือต่อที่ประชุมคณะกรรมากรสมาคม และที่ประชุมใหญ่
 
 
10. การขาดจากตำแหน่งของคณะกรรมากรสมาคมฯ
10.1 กรรมากรสมาคมฯ ย่อมขาดจากตำแหน่งได้ ดังต่อไปนี้
 
10.1.1 ตามวาระ
10.1.2 ลาออก
10.1.3 ขาดจากสมาชิก
10.1.4 ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้ออกตามในข้อ 6.1
 
10.2 สมาชิกสามัญอาจถอดกรรมการอำนวยการทั้งคณะ หรือบางคนได้ในกรณีที่คณะกรรมการหรือกรรมการบางคนเป็นผู้รับผิดชอบในความเสียหายที่มีขึ้น ทั้งนี้โดยคะแนนเสียงอย่างน้อย 3 ใน 4 ของสมาชิกทั้งหมด
 
 
 
 11. การประชุมคณะกรรมการสมาคมฯ
11.1 การประชุมคณะกรรมการบริหารอย่างน้อย 2 เดือนต่อครั้ง
11.2 นายก หรือกรรมการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปอาจเรียกว่าประชุมคณะกรรมการเป็นการประชุมวิสามัญได้เมื่อเห็นสมควร
11.3 องค์ประชุมต้องมีคณะกรรมการอย่างน้อย 6 คน ในกรณีที่มีการออกเสียงให้ถือเสียงข้างมากเป็นมติของที่ประชุม ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานเป็นผู้ชี้ขาด
11.4 คณะกรรมการอาจเชิญผู้อื่นที่เห็นสมควรเข้าร่วมประชุม และให้ออกความเห็นได้แต่ไม่มีสิทธิ์ลงมติ
 
12. การประชุมใหญ่
12.1 ให้คณะกรรมการสมาคมฯ เรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปี ปีละ 1 ครั้ง เพื่อแถลงกิจกรรมที่ได้กระทำไปในรอบปีที่แล้วมา บัญชีบุคคล แต่งตั้งผู้ตรวจบัญชี ปรึกษาหรือกิจการของสมาคมฯ และเลือกตั้งคณะกรรมการตามวาระ
12.2 เลขาธิการมีความรับผิดชอบที่จะต้องแจ้งให้สมาชิกทราบถึงวันประชุม สถานที่ประชุม และระเบียบวาระของการประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนการประชุม
12.3 องค์ประชุมของการประชุมใหญ่ต้องมีอย่างน้อย 30 คน
12.4 ถ้าไม่ครบองค์ประชุม และเมื่อได้เรียกรปะชุมใหญ่ครั้งที่สอง โดยทำตามข้อความในข้อ 12.2 แล้วยังมีผู้มาประชุมน้อยกว่า 30 คน ก็ถือเป็นองค์ประชุมได้
12.5 การประชุมใหญ่วิสามัญอาจมีได้ถ้า
 
12.5.1 คณะกรรมการเห็นสมควร
12.5.2 สมาชิกสามัญไม่น้อยกว่า 30 คน ขอร้องต่อเลขาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนวันที่จะให้มีการประชุม ระเบียบว่าด้วยองค์ประชุมให้อนุโลมตามความในข้อ 12.3 และ 12.4
 
12.6 ให้เลขาธิการเป็นผู้บันทึกรายงานการประชุม และให้คณะกรรมการสมาคมฯ ลงมติรับรองรายงานการประชุมต้องเก็บไว้เป็นหลักฐานตลอดไป โดยเลขาธิการเป็นผู้รับผิดชอบ
 
 
13. การเงินของสมาคมฯ
13.1 ให้เหรัญญิกเป็นผู้เก็บเงินของสมาคมฯ ภายใต้ความรับผิดชอบของคณะกรรมการสมาคมฯ
13.2 เงินของสมาคมฯ ต้องฝากในธนาคาร, ต้องฝากในธนาคาร หรือบริษัทเงินทุนที่คณะกรรมการบริหารเห็นสมควร
13.3 เหรัญญิกจะรักษาเงินสดไม่เกิน 10,000.00 บาท
13.4 การสั่งจ่ายเงินสมาคมฯ จากธนาคารต้องมีรายชื่อบุคคล 2 คนคือ นายกสมาคมฯ และหรือ อุปนายก และหรือ เหรัญญิก และหรือเลขาธิการ
13.5 นายกมีอำนาจสั่งจ่ายเงินในกิจการของสมาคมฯ ได้ครั้งละไม่เกิน 50,000.00 บาท ลแะเดือนๆ หนึ่งต้องไม่เกิน 100,000.00 บาท หากเกินกว่านี้ไม่ว่ากรณีใดๆ จะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการสมาคมฯ เสียก่อน
13.6 คณะกรรมการสมาคมฯ ต้องจัดให้มีบัญชีไว้อย่างถูกต้องสองบัญชีคือ
 
13.6.1 บัญชีรายรับ-รายจ่ายของสมาคมฯ
13.6.2 บัญชีทรัพย์สิน - หนี้สินของสมาคมฯ
 
 
14. การเลิกสมาคมฯ และการชำระบัญชี
14.1 การเลิกสมาคมฯ ต้องมีสมาชิกสามัญลงมติให้เลิกด้วยคะแนนเสียงอย่างน้อย 3 ใน 4 ของสมาชิกสามัญทั้งหมด
14.2 ให้ที่ประชุมใหญ่ลงมติแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี และการชำระบัญชีให้เป็นไปตามกฎหมาย
14.3 ทรัพย์สินที่เหลือจากการชำระบัญชีให้ตกเป็นของนิติบุคคล ซึ่งมีวัตถุประสงค์คล้างคลึงหรือการกุศลอื่นๆ ตามแต่ที่ประชุมใหญ่จะเห็นสมควร
 
15. หมวดเบ็ดเตล็ด
15.1 การแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมข้อบังคับจะทำได้ต่อเมื่อได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ประจำปี หรือที่ประชุมใหญ่วิสามัญ โดยมติ 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกที่มาประชุม และจะบังคับได้ก็ต่อเมื่อได้จดทะเบียนแล้ว
15.2 สมาชิกสามัญปัจจุบันของชมรมโรคหลอดเลือดแดงแห่งประเทศไทย ให้เปลี่ยนสถานภาพเป็นสมาชิกสามัญสมาคมโรคหลอดเลือดแดงแห่งประเทศไทยโดยสมบูรณ์หลังใช้ข้อบังคับ
15.3 คณะกรรมการบริหารของชมรมโรคหลอดเลือดแดงแห่งประเทศไทย ให้ปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสมาคมโรคหลอดเลือดแดงต่อไปจนครบวาระ ตำแหน่งประธานและรองประธานชมรมฯ ให้ทำหน้าที่นายกและอุปนายกของสมาคมฯ ตามลำดับ
15.4 ข้อบังคับนี้ให้ใช้ตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งสมาคมจากทางราชการ
 
สมาคมโรคหลอดเลือดแดงแห่งประเทศไทย Thai Atherosclerosis Society

สมาคมโรคหลอดเลือดแดงแห่งประเทศไทย Thai Atherosclerosis Society

อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี ชั้น 5 โซนบี 2 ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ห้วยขวาง บางกะปิ กรุงเทพฯ 10320

0-2716-6043, 087-830-9306 0-2716-6044