อย่านอนใจแม้จะไม่มีอาการ
ถ้าความดันโลหิตสูงอย่างรวดเร็ว จะพบมีอาการปวดศีรษะ มึนศีรษะ ปวดท้ายทอย และบางครั้งมีเลือดกำเดาออกบ่อยๆ เมื่อมีอาการเหล่านี้ควรให้แพทย์ตรวจเช็คความดัน
แต่ถึงแม้จะไม่มีอาการดังกล่าว ก็สมควรที่จะตรวจเช็คร่างกายประจำปีโดยเฉพาะ เมื่อมีอายุเกิน 30 ปี ขึ้นไป
ผู้ที่พบว่ามีความดันโลหิตสูง ร้อยละ 55 ไม่รู้ตัวมาก่อน
จากรายงานทางระบาดวิทยาทั่วโลก และของประเทศไทยโดยแพทย์หญิงดวงมณี วิเศษกุล พบว่าเมื่ออายุมากขึ้นความดันโลหิตสูงขึ้น จากการสำรวจพนักงานธนาคารออมสิน ในปี พ.ศ. 2522 จำนวน 1,331 ราย พบว่าร้อยละ 7 มีความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะในชายพบมากกว่าในหญิง ผู้ที่พบว่ามีความดันโลหิตสูงร้อยละ 55 ไม่รู้ตัวมาก่อน และร้อยละ 76 ไม่ได้รับการรักษาเพียงพอ
จะเห็นได้ว่าในกรุงเทพซึ่งมีประชากรประมาณ 5,600,000 คน จะมีถึง 350,000 คน มีความดันโลหิตสูง และประมาณ 192,500 คนไม่รู้ตัว คุณเป็นคนหนึ่งหรือเปล่า ที่ไม่ทราบความดันโลหิตของคุณ !!!
คุณรู้จักความดันโลหิตของคุณไหม ?
ความดันโลหิต เป็นของคู่กับชีวิต ถ้าขาดความดันโลหิตเสียแล้ว ชีวิตก็ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ แต่ถ้าความดันโลหิตที่สูง ผลของความดันโลหิตสูงจะค่อยๆ บั่นทอนสุขภาพของคุณลงทีละน้อยๆ จนในที่สุดอาจทำให้คุณเป็นอัมพาต, เป็นโรคไตพิการ, โรคหัวใจ และโรคอันทรมานอื่นๆ ทำให้ชีวิตบั้นปลายของคุณขาดความสุขหมดความสนุก ต้องนอนจมกับความทุกข์ทรมารจนกระทั่งเสียชีวิต ดังนั้นความดันโลหิตสูงก็เปรียบเสมือนฆาตกรอำมหิตเลือดเย็นที่ค่อยๆ เพิ่มความทุกข์ทรมานแก่คุณ
ความดันโลหิตฆาตกรอำมหิตหรือมิตรคู่หัวใจ
ก่อนอื่นคุณสมควรจะทำความรู้จักกับความดันโลหิตของคุณว่า เป็นชนิดไหนกันแน่ คุณเคยให้แพทย์หรือพยาบาลวัดความดันของคุณหรือไม่ ถ้าเคยวัดคุณจะทราบว่าความดันของคุณเป็นตัวเลข 2 ชุด ที่แพทย์มักจะอ่านค่าตัวแรกและตัวหลัง
ความดัน ?../?..
ค่าของความดันโลหิต
ค่าของความดันโลหิตเป็นตัวเลข 2 ชุด ตัวเลขชุดแรกที่แพทย์หรือพยาบาล อ่านจะเป็นค่าของความดันซึ่งสูงสุดในขณะที่วัด โดยวัดค่าความดันที่เกิดขึ้นเมื่อหัวใจบีบตัว (Systolic Blood Pressure) ส่วนเลขชุดหลังเป็นค่าความดันที่วัดเมื่อลิ้นหัวใจปิดกั้นการไหลย้อนกลับของโลหิตในหลอดเลือดลงสู่หัวใจอีก เมื่อหัวใจคลายตัวก็จะดูดโลหิตจากห้องหัวใจที่สะสมโลหิตไว้ (Atrium) ให้เข้ามา เพื่อที่จะส่งต่อไปในการบีบตัวครั้งต่อไป
หัวใจจะเต้นเป็นจังหวะ โดยมีการบีบตัวและคลายตัวสลับกันไปอย่างสม่ำเสมอ
วัย |
ปี |
ความดันเมื่อหัวใจบีบตัว (mmHg) |
ความดันเมื่อหัวใจคลายตัว (mmHg) |
วัยเด็ก |
1-10 |
80-100 |
40-50 |
วัยรุ่น |
10-20 |
100-120 |
55-60 |
วัยเริ่มงาน |
20-30 |
100-130 |
60-65-70 |
วัยกลางคน |
30-50 |
100-130 |
65-70-75 |
วัยชรา |
50-70 |
100-150 |
70-75-80 |
70+ |
100-170 |
75-80-85 |
สำรวจความดันโลหิตของคุณว่าเป็นประเภทใด
หลังจากที่คุณทำความรู้จักกับความดันโลหิตของคุณแล้ว คุณก็สามารถที่จะมองให้ชัดว่า ความดันโลหิตของคุณนี้จะเป็นมิตรแท้ที่แสนดี หรือจะเป็นฆาตกรของคุณกันแน่
ถ้าค่าความดันของคุณเกินกว่าที่กำหนดเหรือเกินกว่า 90 (มิลลิเมตรปรอท) คุณเริ่มชักจะเห็นเค้าของผู้ร้ายว่าอำมหิตของคุณแล้ว แต่คุณยังโชคดีที่เห็นตัวก่อนที่ฆาตกรจะได้มีโอกาสทำร้ายคุณ
สรุปได้ว่า ความดันโลหิตของคุณแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ถ้าความดันโลหิตของคุณอยู่ในเกณฑ์ปกติ ก็เป็นมิตรคู่ใจของคุณ
2. ถ้าความดันโลหิตของคุณสูงกว่าปกติ ก็เป็นฆาตกรอำมหิตเลือดเย็น ที่วาเลือดเย็นเพราะคุณจะไม่มีอาการเจ็บป่วยแต่อย่างใดในระยะ 5-10 ปีแรก แต่อย่าผลีผลามในการตราหน้าเป็นผู้ร้าย คุณจะต้องวัดความดันโลหิต 3-4 ครั้งให้แน่ใจว่า เป็นฆาตกรจริงๆ เพราะบางครั้งมิตรของคุณก็อาจหน้าคล้ายฆาตกรขึ้นมา ถ้าคุณอยู่ในความเครียด ซึ่งมิตรของคุณย่อมจะเครียดไปด้วย ความดันจะสูงเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อความเครียดลดลงก็จะกลับสู่ปกติ
การปฏิบัติต่อมิตรของท่าน
ถ้าคุณมีความดันโลหิตปกติ คุณจะเห็นว่าเขาเป็นมิตรที่ดีของคุณ คุณก็สมควรที่จะต้องมีน้ำใจต่อเขา สิ่งที่จะช่วยให้มิตรของคุณคงความดีตลอดไป มิตรคู่หัวใจของคุณชอบการควบคุม :-
1. มีน้ำหนักพอดี อย่ามากเกินไป
2. การออกำลังให้พอเหมาะพอดี ถูกวิธี และสม่ำเสมอ
3. ให้คุณทานอาหารมันแต่น้อยๆ และงดไขมันสัตว์ และลดอาหารเค็ม
4. ให้คุณผ่อนคลายความเครียด และหลีกเลี่ยงความเครียด
ระบบการควบคุมความดันโลหิต
ความดัน เกิดจาการบีบตัวและคลายตัวของหัวใจ เปรียบเสมือนปั้มที่ปั้มส่งน้ำ
ความแรงของการบีบตัวและคลายตัว ถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติจากสมอง โดยถ่ายทอดมาตามสายสื่อเช่นเดียวกับสายไฟฟ้า นั่นคือ เส้นประสาทและมีจุดรวมที่พักไฟฟ้าเป็นจุดๆ เรียกว่า Ganglion
นอกจากนี้ปัจจัยที่มีส่วนร่วมในค่าของความดัน คือ หลอดโลหิต และปริมาณโลหิต เพราะหลอดโลหิตเป็นตัวที่ทำให้เกิดแรงต้านทาน (Resistance) และปริมาณโลหิต (Volume)
ความดันก็เป็นไปตามกฎที่ว่า
V=IR | |
V=Volume | |
I=Current | |
R=Resistance |
ความดันโลหิตสูงระยะเริ่มต้นที่สูงเพียง 90-99 มม.ปรอท จะลดลงได้โดยไม่ต้องใช้ยาตลอดชีวิต |
มีหลักฐานแน่นอนว่า เมื่อน้ำหนักตัวลดลง 1 กิโลกรัม ความดันโลหิตจะลดลง 2.5/1.5 มม.ปรอท |
ค่าน้ำหนักที่ถูกต้องสัมพันธ์กับส่วนสูง ชาย ส่วนสูง (ซ.ม.) - 100 = กิโลกรัม หญิง ส่วนสูง (ซ.ม.) - 110 = กิโลกรัม ค่าแปรผันได้ + 10% ตามโครงสร้างกระดูก |
การออกกำลังกายและการฝึกการออกกำลังหัวใจลดความดันโลหิตได้ บุคคลที่มีการออกกำลังกายเป็นประจำหรือมีอาชีพที่จะต้องออกกำลัง จะพบว่ามีความดันโลหิตสูงน้อยมาก ในทางตรงข้ามบุคคลที่มีอาชีพที่ห่างเหินจากการออกกำลังกายพบว่า มีความดันโลหิตสูงในอัตราค่อนข้างสูง จากการตรวจเช็คร่างกายของพนักงานบริษัทของโรงพยาบาลเอกชนพบว่า ความดันโลหิตสูงพบบ่อยในพนักงานขับรถแท็กซี่ มากกว่าในตำแหน่งอื่นๆ การออกกำลังจะต้องทำให้พอเหมาะพอดี ถูกวิธี และสม่ำเสมอ เพราะผู้ที่มีความดันโลหิตสูงถ้าไม่ได้การฝึกออกกำลังกาย จะออกกำลังกายแรงๆ โดยทีเดียวจะพบว่าจะมีการเกร็งของหลอดเลือดมากขึ้นและทำให้ความดันโลหิตสูงมากขึ้น การออกกำลัง เช่น การวิ่งเหยาะ การขี่จักรยาน และการว่ายน้ำ ทำให้ชีพจรสูงขึ้นและเพิ่มปริมาณโลหิตที่สูบฉีดแต่ละครั้ง พร้อมทั้งเพิ่มความดันโลหิตเมื่อหัวใจบีบตัว (Systolil Blood Pressure) ส่วนความดันโลหิตเมื่อหัวใจคลายตัว (Diastolic Blood Pressure) ในคนที่ความดันปกติที่เป็นมิตรที่แสนดีมักจะลงเล็กน้อย แต่ในคนที่มีความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าขณะพัก ทั้งนี้เพราะความต้านทานของหลอดเลือดส่วนนอก (Peripheral Vascular Resistance) ซึ่งมักจะสูงในคนที่มีความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Essential Hypertension) ก็จะยิ่งสูงขึ้นอีกในเมื่อมีการออกกำลังกายรุนแรงทันที อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายโดยสม่ำเสมอ และถูกหลักเกณฑ์ ที่มี Physical conditioning Program พบว่ามักจะมีผลดีโดยให้ความดันโลหิตลดลงได้ Boyer พบว่าในเวลา 6 เดือน ความดันโลหิตลดลง 13/12 มม.ปรอท ในคนวัยกลางคนที่มีความดันสูง เมื่อได้รับการฝึกการออกกำลังหัวใจ สัปดาห์ละ 2 วัน ถึงแม้จะมีน้ำหนักลดเพียงเล็กน้อย Bonanno พบว่าในเวลาเพียง 3 เดือนความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจะลดลง 13/14 มม.ปรอท เมื่อได้ฝึกออกกำลังโดยการวิ่งเหยาะสัปดาห์ละ 3 วัน Roman ได้ทำการรักษาโดยให้ผู้ป่วยหญิงที่มีความดันสูงได้รับการฝึกออกกำลังสัปดาห์ละ 3 ครั้ง โดยให้ออกกำลังจนชีพจรอยู่ระหว่าง 70% ของอัตราชีพจรที่สามารถจะเป็นได้ (Maximual attainable heart rate) พบว่าในเวลา 3 เดือน ความดันลดลง 21/16 มม.ปรอท หลังจากนั้นก็หยุดออกกำลังไป 3 เดือน ความดันกลับสูงขึ้นตามเดิม การออกกำลังนี้จะต้องออกกันติดต่อไปเรื่อย และในการศึกษาครั้งนี้พบว่าใน 12 เดือน ที่ออกกำลังความดันก็สามารถลดลงอีก 20/80 มม.ปรอท ได้ แต่การกออกกำลังที่หนักเกินไป ทำให้ชีพจรสูงถึง 75-85% ของชีพจรสูงสุดนั้น กลับไม่ทำให้ความดันโลหิตลดลง | |||
อัตราชีพจรสูงสุดลดลงตามอายุโดยเฉลี่ยจะมีค่าเท่ากับ 220 - อายุ (ปี) การออกกำลังที่จะเหมาะสมกับการลดความดันโลหิต จะต้องเป็นการออกกำลังแบบอากาศนิยม (Aerobic Exercise) โดยมีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อชุดใหญ่ๆ อย่างมีจังหวะของการหดและการเกร็งที่สม่ำเสมอ และรวดเร็วพอสมควร ได้แก่ การเดินเร็ว การวิ่งเหยาะ การขี่จักรยาน การกระโดดเชือก และอื่นๆ
การออกกำลังโดยการเกร็งกล้ามเนื้อ เช่น การยกน้ำหนัก ไม่เป็นการบริหารหัวใจ เป็นเพียงบริหารกายเท่านั้น ขณะที่ร่างกายออกกำลัง พลังงานส่วนแรกใน 3 วินาทีแรก จะได้มาจากการเผาผลาญของพลังในกล้ามเนื้อชุดนั้นๆ และต่อมา จึงจะรับจากส่วนที่สะสมโดยไม่พึ่งออกซิเจนเป็นพลังงานชุดที่ 2 พลังงานชุด 1 และ 2 นี้จะหมดไปอย่างรวดเร็ว ภายใน 1-2 วินาที ถ้ายังมีการออกกำลังต่อไประบบพลังงานชุดที่ 3 จะเริ่มทำงานโดยต้องใช้ออกซิเจนเข้าร่วมด้วย ระบบที่ 3 นี้ เรียกว่า ระบบอากาศนิยม (Aerobic System) ซึ่งต้องอาศัยการทำงานของหัวใจและปอดร่วมด้วย ดังนั้นการบริหารหัวใจและปอด จำต้องออกกำลังกายต่อเนื่องกันถึง 3 นาทีก่อน จึงจะเริ่มมีการบริหารหัวใจ และจะต้องทำต่อเนื่องอย่างน้อยในระดับ 15-20 นาที ในระดับปานกลาง การออกกำลังหัวใจที่ช่วยให้ความดันลดต้องออกกำลังสม่ำเสมอและการออกกำลังในระดับปานกลาง (70% ของอัตราชีพจรสูงสุด) ในเวลา 20 นาที ระยะนี้เรียกว่า ระยะกระตุ้น (Stimulus และ Endurance) ท้ายสุด เพื่อความสุขในการออกกำลัง โดยไม่ต้องทรมานจากความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อที่ตามมา จักต้องออกกำลังน้อยๆ (40-50%) ในระยะท้ายเป็นการเบาเครื่องผ่อนคลายกล้ามเนื้อให้กลับสู่ปกติ เรียกว่า ระยะ Cool down การบริหารนี้จะได้ผลเมื่อทำติดต่อกันทุกๆ วัน หรืออย่างน้อย สัปดาห์ละ 3-4 วัน
ออกกำลังให้พอเหมาะ คือ ออกกำลังในระยะกระตุ้น (Stimulus or Endurance) ประมาณ 20 นาที ออกกำลังให้พอดี คือ ระดับที่ชีพจรเต้นเท่ากับ 70% (ดูตารางอัตราชีพจรที่เหมาะสม) ออกกำลังถูกวิธี คือ ออกกำลังแบบอากาศนิยม โดยมีการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อชุดใหญ่เป็นจังหวะ ออกกำลังโดยสม่ำเสมอ คือ ทุกวันหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง |
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อาหารและความดันโลหิต เกลือแร่ การรับประทานอาหารเค็มจัด ทำให้ความดันโลหิตสูงได้ ถ้าลดปริมาณเกลือในอาหารได้ จะช่วยทำให้ความดันลดลง และช่วยใช้ยาขับปัสสาวะ ซึ่งเป็นตัวขับน้ำและเกลือออกจากร่างกายน้อยลงด้วย บุคคลที่รับประทานอาหารแล้วเหยาะน้ำปลาทุกครั้งไป อาจจะรับประทานเกลือมากกว่า 10-20 gm(Nacl) จะลดปริมาณการบริโภคเกลือ ได้โดย
เกลือจำพวกโปแตสเซียม เป็นเกลือที่มีมากในผลไม้ทุกชนิด มีผู้ทำการทดลองว่า ผู้ที่รับประทานข้าวและผลไม้ จะมีความดันต่ำลงได้กว่าเดิม ทั้งนี้เพราะโปแตสเซียมในผลไม้ ช่วยลดความดันโลหิต ในทำนองเดียวกัน มีการสนับสนุนว่า ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง จะบริโภคแคลเซียมน้อยกว่าคนปกติ แต่การบริโภคแคลเซียมไม่ได้ลดความดันในทุกรายไป เหล้า สัมพันธ์กับความดันโลหิตสูง การดื่มเหล้ามากๆ ทำให้ความดันโลหิตสูง ทั้งนี้หมายถึง ผู้ที่ดื่มเหล้ามากกว่าวันละ 4-6 แก้ว ต่างจากผู้ดื่มเหล้าน้อย พวกที่ดื่มเหล้าน้อยกว่า 2 แก้ว (น้อยกว่า 10 ออนซ์ ต่อเดือน) มักจะมีความดันต่ำกว่าคนปกติเล็กน้อย กาแฟ ไม่มีผลต่อความดัน ถ้ารับประทานวันละน้อยกว่า 3 แก้ว กาแฟทำให้หายง่วง เพราะมี Cafeine ถ้าดื่มมากๆ อาจมีอาการใจสั่นได้เพราะกระตุ้นหัวใจ บุหรี่ เป็นศัตรูตัวร้ายเพราะช่วยเสริมความดันสูง เพราะสารนิโคตินทำให้ความดันโลหิตสูง มีผู้ทดลองสูบบุหรี่ 2 มวนติดกัน พบว่าความดันจะขึ้น 10/8 เป็นเวลา 15 นาที คนที่สูบบุหรี่จัดทั้งวัน ความดันจะสูงทั้งความดันบีบตัวและความดันคลายตัว ทั้ง 2 ค่า
Nicholson และคณะพบว่า พวกสูบบุหรี่จัดส่วนใหญ่เป็นโรคความดันที่เกิดจากไตพิการ เพราะเส้นเลือดเลี้ยงไตแข็ง และไต ก็จะเสื่อมไปเป็นพังพืด (Fibromuscular) มังสวิรัติ การบริโภคอาหารมังสวิรัติ และการลดไขมันสัตว์ ช่วยลดความดันได้เป็นอย่างดี และนอกจากจะลดความดันแล้วยังลดอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจพิบัติอีกด้วย อาหารมันที่ควรหลีกเลี่ยง
ควรใช้น้ำมันพืชปรุงอาหาร น้ำมันพืชที่ดี ได้แก่ น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันเม็ดทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด แม้น้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าว มีไขมันตัวทำลายมากกว่าไขมันผู้พิทักษ์ เมื่อเทียบกับน้ำมันพืชอย่างอื่น แต่ยังมีน้อยกว่าไขมันสัตว์ ในบ้านเราระยะนี้ก็มีการนิยมรับประทานอาหารเจ หรือมังสวิรัติกันมากขึ้น ทำให้น่าจะศึกษาถึง ผลของการับประทานอาหารปกติ กับการรับประทานอาหารมังสวิรัติ ในปี พ.ศ.2526 Rouse ได้ศึกษาให้คนที่มีความดันปกติได้รับประทานอาหารมังสวิรัติโดยบริโภคไข่และนมด้วย งดเฉพาะเนื้อสัตว์พบว่า ความดันลดลดง 7/3 มม.ปรอท นอกจากนี้ มีการศึกษาเกี่ยวกับการบริโภคไขมันชนิดที่เป็นไขมันจากพืช (Polyunsaturated fat) ในอัตราที่สูงกว่าไขมันสัตว์ (Saturated fat) ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า "ไขมันผู้พิทักษ์" (Polyunsaturated fat) และ "ไขมันผู้ร้าย" (Saturated fat) พบว่าทำให้ความดันลดลงได้เมื่อรับประทานไปครบ 6 สัปดาห์ ดังนี้
|
ควรผ่อนคลายความเครียด การนั่งสมาธิ การปฏิบัติธรรม ลดความดันโลหิตได้ |
- คลายกล้ามเนื้อที่หัวคิ้ว - คลายกล้ามเนื้อที่แก้ม และที่รอบปาก - คลายกล้ามเนื้อที่คอ - คลายกล้ามเนื้อที่หัวไหล่ แขน แล้วเลื่อนลงจนถึงปลายนิ้ว - คลายกล้ามเนื้อที่หลัง ที่หน้าอก และที่เอว - คลายกล้ามเนื้อที่เชิงกราน ที่ขา ที่น่อง จนถึงปลายเท้า - หายใจเข้าออกสม่ำเสมอ แล้วตรวจสอบว่า ได้คลายกล้ามเนื้อที่พอเพียงหรือยัง ถ้าพอเพียงแล้วท่านจะรู้สึกสบาย" |
1) ต้องเงียบ 2) คลายกล้ามเนื้อ 3) คล้อยตามเสียงที่ได้ยินจากเทปหรือจากผู้พูด 4) กำหนดใจมาไว้ ณ จุดเดียว |
1.บริกรรมนิมิตร กำหนดใจลงที่เดียวกัน จะเป็นอะไรก็ได้ 1 ใน 40 สมถกัมมฐาน 2. บริกรรมภาวนา ท่องหรือนึกถึงคำพูดซ้ำซ้ำกันเรื่อยไป ส่วนมากมักจะเป้น 2-4 พยางค์ 3. กำหนดฐานที่ตั้งของใจ กลางลำตัวเหนือสะดือ 2 นิ้วมือ |
เมื่อครบเสร็จสำเร็จ จะได้ศูนย์และมีจิตเป็นสมาธิ ได้ทางสายเอก (เอกกตารมณ์)
เมื่อท่านปฏิบัติตามดังกล่าวแล้วตรวจเช็คความดันดูจะพบว่า ความดันของท่านลดลงอย่างดี
ถึงแม้ท่านที่รับประทานยาลดความดันอยู่ ถ้าได้ลองปฏิบัติตัวตามคำแนะนำเหล่านี้ท้ายทีสุด ยาลดความดันก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป
|
สมาคมโรคหลอดเลือดแดงแห่งประเทศไทย Thai Atherosclerosis Society
อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี ชั้น 5 โซนบี 2 ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ห้วยขวาง บางกะปิ กรุงเทพฯ 10320
0-2716-6043, 087-830-9306 0-2716-6044